ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

     แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นมีการเคลื่อนที่ใน ทิศทางที่ต่างกัน ผลจากการเคลื่อนที่ทาให้เกิดสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก ทั้งบนพื้นดินและใต้มหาสมุทร เช่น เทือกเขา ภูเขา เนินเขา ที่ราบสูง แอ่ง หุบเขา ภูเขาไฟ   การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกมีอยู่ 3 แบบ

66

ที่มา: http://www.geothai.net

7  1. รอบต่อที่แผ่นเปลือกโลกจะแยกจากกัน (Divergent Boundary)

     เกิดขึ้นตรงรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น ที่อยู่ใต้มหาสมุทรมากกว่าบนพื้นทวีป เช่น รอยต่อของแผ่นอเมริกาเหนือกับแผ่นยูเรเซีย โดยที่แผ่นทั้งสองมีการเคลื่อนที่แยกออกจากกัน ทาให้เกิดรอยแยกใต้ท้องมหาสมุทร และหินหลอมละลายที่อยู่ลึกลงไปจะดันออกมาตามรอยแยก เมื่อกระทบกับความเย็นจะแข็งตัว และกลายเป็นหินเปลือกโลกใหม่ และเกิดเป็นสันเขา เมื่อแผ่นเปลือกโลกแยกตัว ต่อไปหินหลอมละลายก็จะออกมาและดันหินที่แข็งตัวออกไปด้านข้าง พื้นมหาสมุทรก็จะแผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีเปลือกโลกที่เกิดใหม่ใต้มหาสมุทรแอตแลนติกอยู่ตลอดเวลา และทาให้ทวีปอเมริกาเหนือแยกจากทวีปยุโรป

77

ที่มา: http://www.oknation.net

 72  2. รอยที่แผ่นเปลือกโลกจะเคลื่อนที่ชนกันและเกยกัน (Convergent Boundary) มี 3 แบบ คือ 

      2.1 แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกัน

    แผ่นธรณีมหาสมุทรเกิดขึ้นและเคลื่อนที่ออกจากจุดกำเนิด บริเวณรอยต่อที่แผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกัน แรงขับดันจากเซลล์การพาความร้อน (Convection cell) ในชั้นฐานธรณีภาค ทำให้แผ่นธรณีมหาสมุทรสองแผ่นเคลื่อนที่ปะทะกัน ดังภาพที่ 1   แผ่นธรณีที่มีอายุมากกว่า มีอุณหภูมิต่ำกว่า และมีความหนาแน่นมากกว่า จะจมตัวลงในเขตมุดตัว ทำให้เกิดร่องลึกก้นสมุทร (Mid oceanic trench) เมื่อแผ่นธรณีจมตัวลง เปลือกมหาสมุทรและเนื้อโลกชั้นบนสุดซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำจะหลอมละลายเป็นหินหนืด ซึ่งมีความหนาแน่นต่ำกว่าเนื้อโลกในชั้นฐานธรณีภาค  จึงลอยตัวขึ้นดันพื้นผิวโลกให้เกิดเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (Volcanic island arc) เรียงตัวขนานกับแนวร่องลึกก้นสมุทร  บรรดาหินปูนซึ่งเกิดจากสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล เช่น ปะการัง เป็นตะกอนคาร์บอนเนตมีจุดเดือดต่ำ เมื่อถูกความร้อนจะเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ลอยตัวสูงขึ้นปลดปล่อยออกทางปล่องภูเขาไฟ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของวัฏจักรคาร์บอนและธาตุอาหาร  ตัวอย่างหมู่เกาะภูเขาไฟที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการนี้ ได้แก่ หมู่เกาะปิลิปปิส์น และ หมู่เกาะญี่ปุ่น

76

ที่มา: http://www.lesa.biz

       2.2  แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีทวีป 

      แผ่นธรณีมหาสมุทรเป็นหินบะซอลต์ มีความหนาแน่นมากกว่าแผ่นธรณีทวีปซึ่งเป็นหินแกรนิต เมื่อแผ่นธรณีทั้งสองปะทะกัน แผ่นธรณีมหาสมุทรจะจมตัวลงและหลอมละลายเป็นหินหนืด เนื่องจากหินหนืดมีความหนาแน่นน้อยกว่าเนื้อโลกในชั้นฐานธรณีภาค มันจึงยกตัวขึ้นดันเปลือกโลกทวีปให้กลายเป็นเทือกเขาสูง เกิดแนวภูเขาไฟเรียงรายตามชายฝั่ง ขนานกับร่องลึกก้นสมุทร ดังภาพที่ 2  ตัวอย่างเทือกเขาที่เกิดขี้นด้วยกระบวนการนี้ ได้แก่  เทือกเขาแอนดิส บริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้

565

ที่มา: http://www.lesa.biz

      2.3แผ่นธรณีทวีปชนกัน

  แผ่นธรณีทวีปมีความหนามากกว่าแผ่นธรณีมหาสมุทร ดังนั้นเมื่อแผ่นธรณีทวีปปะทะกัน แผ่นหนึ่งจะมุดตัวลงสู่ชั้นฐานธรณีภาค  อีกแผ่นหนึ่งจะถูกยกเกยสูงขึ้น กลายเป็นเทือกเขาที่สูงมาก เป็นแนวยาวขนานกับแนวปะทะ ดังภาพที่ 3  ตัวอย่างเทือกเขาสูงที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการนี้ ได้แก่  เทือกเขาหิมาลัย ในประเทศเนปาลเทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป

  657

ที่มา: http://www.lesa.biz

70  3. รอยต่อที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่สวนกัน (Transform Boundary)

    เมื่อแผ่นเปลือกโลกทั้งสอง เคลื่อนที่สวนกันจะทาให้เกิดรอยเลื่อนขนาดใหญ่ขึ้น และหากแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่กระทบกันอย่างรุนแรงจะทาให้เกิดการสั่นสะเทือนและเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้ แต่มักจะไม่พบภูเขาไฟ

444

ที่มา: http://www.divediscover.whoi.edu.com

9899989998999899

ใส่ความเห็น

ใส่ความเห็น